การดูแลแมวกำพร้า
เมื่อแม่แมวคลอดลูกแล้วไม่เลี้ยง ไม่ดูแล หรือมีน้ำนมไม่เพียงพอ
เจ้าของก็ไม่ต้องตกใจเราสามารถดูแลลูกแมวแทนแม่แมวได้เอง
โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1.ลูกแมวแรกเกิดจะยังไม่ลืมตา ไม่ได้ยินเสียง และไม่ขับถ่ายเอง เราต้องช่วยกระตุ้น ซึ่งเป็นการเลียนแบบการเลียของแม่แมว
โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆ ถูบริเวณอวัยวะเพศและรูทวารเพื่อกระตุ้นให้ขับถ่าย ทำทุก 2 ชั่วโมงหลังจากป้อนนม
2.น้ำนม มีสารอาหารที่จำเป็นในช่วงวัยเจริญเติบโตของลูกแมว แต่ห้ามป้อนนมวัว เพราะลูกแมวไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมวัวได้ดีพอ
ทำให้มีโอกาสท้องเสียและท้องอืดจากนมไม่ย่อยได้ ควรใช้นมแพะ หรือนมสำเร็จรูปสำหรับแมวที่ไม่มีแลคโตส เช่น KMR มีทั้งแบบผงและแบบน้ำ
ปริมาณการให้ตามอายุและน้ำหนักตัว อ้างอิงจากนมชนิด KMR ดังตารางนี้
อายุ (สัปดาห์)
|
น้ำหนักตัว (กรัม)
|
ปริมาณน้ำนมต่อวัน
(ml)
|
จำนวนครั้งต่อวัน |
1 |
50-115 |
32 |
6-8 |
2 |
115-220 |
56 |
4-6 |
3 |
220-340 |
80 |
3-4 |
4 |
340-450 |
104 |
3 |
3.ลูกแมวจะลืมตาตอนอายุ 8 วันและลืมตาเต็มที่อายุ 14 วัน และเริ่มอย่านมตอนอายุ 4 สัปดาห์
สามารถให้กินอาหารเปียกหรืออาหารเม็ดนิ่มๆ และสามารถฝึกการใช้ทรายแมวได้
4.สำหรับนม KMR แบบน้ำ หลังเปิดแล้วเก็บในตู้เย็นได้นาน 24 ชั่วโมง ส่วนแบบผงหลังเปิดแล้วสามารถเก็บซองไว้ในตู้เย็นนาน 3 เดือน
และในช่องแช่แข็งนาน 6 เดือน
อุปกรณ์สำหรับการให้นม อาจจะเลือกเป็นขวดนมสำหรับลูกสัตว์ หรือกระบอกฉีดยา
*นำน้ำนมใส่ในขวดที่สะอาดแล้วอุ่นโดยการแกว่งในน้ำร้อนให้ได้อุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส
หรือตรวจสอบโดยหยดบนหลังมือเรา ให้พออุ่นๆ ไม่ร้อนเกินไป และดูว่าน้ำนมไหลออกมาจากจุกนมได้หรือไม่
สามารถขยายรู โดยใช้กรรไกรตัดจุกนมเพิ่มได้
*การดูแลลูกแมวที่กำพร้า ลูกแมวที่แม่ไม่เลี้ยง ไม่ใช่เป็นเรื่องยากแต่คงต้องอาศัยความรักความเมตตา
ที่เจ้าของมอบให้เป็นกำลังที่จะทำให้อีกชีวิตรอดและเติบโตได้ ขอเป็นกำลังใจให้แม่แมวจำเป็นทุกท่านด้วยคะ
*นำจุกนมให้ลูกแมวคาบ สังเกตการดูด ถ้าไม่ดูดให้บีบขวดนมหรือดันกระบอกฉีดยาให้มีน้ำนมหยดออกมาเล็กน้อย
แล้วลูกแมวจะดูดต่อได้เอง ระวังลูกแมวสำลักนมออกทางจมูกหากดูดเร็วหรือดันกระบอกฉีดยาเร็วเกินไป
ถ้ามีการสำลักหรือเริ่มมีน้ำมูกควรนำมาให้สัตวแพทย์ทำการรักษา
สพ.ญ.กุญชรี ประกาลัง
แผนกอายุรกรรม, คุณหมอประจำศูนย์ธนาคารเลือดโรงพยาบาลบสัตว์ตลิ่งชัน
เลี้ยงลูกแมวกำพร้า หรือลูกแมวเด็กที่ไม่ได้มีแม่แมวคอยให้ความอบอุ่น หรือให้การเลี้ยงดูอ่ะนะคะ คงมีแต่เฉพาะพ่อแมวแม่แมว
ที่เป็นคนที่พร้อมจะให้ความรักและการเลี้ยงดู ให้เค้าได้อยู่รอดปลอดภัย เติบโตขึ้นเป็นแมวใหญ่และเป็นสมาชิกแสนรักของบ้านให้ได้
ดังนั้นการเรียนรู้วิธีที่จะช่วยให้ลูกแมวมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง จึงเ็ป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง
บล็อกยัยกะทิวันนี้เราจะมาดูในเรื่องของการให้ความอบอุ่นแก่ลูกแมวทารกกันค่ะ
จากที่ค้น ๆ คว้า ๆ มา ได้รับข้อมูลมาว่า ลูกแมวเล็กหรือลูกแมวทารกนั้นจะยังไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้นะคะ
เนื่องจากว่าหลอดเลือดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หากลูกแมวแรกเกิดมีแม่แมวอยู่ด้วยก็จะได้รับความอบอุ่นจากการนอนกกของแม่
แต่หากไม่มีแม่แมว ก็ต้องได้รับความอบอุ่นทดแทนจากแหล่งต่าง ๆ อย่างเช่น การใช้ตู้อบ
หรือเครื่องทำน้ำอุ่นซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับลูกสัตว์เกิดใหม่เป็นต้น
แต่สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ไม่ได้มีเครื่องมือแบบในคลีนิคหรือโรงพยายบาลสัตว์ที่จะใช้อนุบาลลูกแมวแรกเกิด
เราก็สามารถหาแหล่งความอบอุ่นง่าย ๆ ให้กับลูกแมวได้ค่ะ โดยการนำลูำกแมวใส่กล่อง
จากนั้นจึงทำการอบด้วยหลอดไฟสีส้มขนาด 60 วัตต์ (หลอดไส้นะคะ ไม่ใช่หลอดประหยัดไฟ)
โดยทำการส่องให้ห่างจากตัวลูกแมวประมาณ 2-3 ฟุต
โดยปกติแล้วอุณหภูมิของลูกแมวอายุ 1 วัน จะอยู่ที่ประมาณ 33-36 องศาเซลเซียสค่ะ
แต่เมื่อโตขึ้นอีกนิด คืออายุราว 2-21 วัน ก็จะอยู่ราว ๆ 33.5-37.5 องศาเซลเซียส ดังนั้น
เราจึงควรรักษาอุณหภูมิของร่างกายลูกแมวให้เหมาะสม
แต่ก็ควรระวังอย่าให้ความร้อนจากการอบหลอดไฟสูงเกินไป
มีข้อสังเกตง่าย ๆ ค่ะ กรณีที่เลี้ยงลูกแมวหลายตัว ให้สังเกตว่า หากลูกแมวมานอนกองรวมกัน
แสดงว่าความอบอุ่นไม่พอ แต่หากลูกแมวนอนกระจายกันตัวละทิศละทาง ก็ให้สันนิษฐานว่าร้อนเกินไป
ระหว่างทำการอบหลอดไฟให้ลูกแมว อย่าลืมนำผ้าขนหนูชุบน้ำวางไว้บริเวณเหนือกล่องที่ลูกแมวอยู่ด้วยนะคะ
ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ไม่ให้แห้งเกินไป และควรบุกล่องด้วยผ้าห่มหรือผ้าขนหนู
เพื่อให้ลูกแมวสามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายได้สม่ำเสมอ และยังช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวและพัฒนาการของลูกแมวด้วยค่ะ
เรียบเรียงข้อมูลจาก yimwhan.com/board/show.php?user=wimzaa&Cate=6&topic=3
bloggang.com/viewdiary.php?id=wachira&month=09-2007&date=26&group=3&gblog=48
credit...............http://meowkati.blogspot.com